ห้องรัตนฯ ช่องแสดงที่ 14

ช่องแสดงที่ 14 มีพระพุทธรูปที่เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเฉพาะตัวของยุครัตนโกสินทร์คือพระพุทธรูปทรงจีวรลายดอกพิกุลอยู่สององค์ (อายุประมาณ 180 ปี)  จีวรลายดอกพิกุลถูกรังสรรค์ขึ้นในสมัยรัชการลที่ 3 โดยได้แรงบันดาลใจจากการนำลูกไม้ลายดอกไปห่มองค์พระพุทธรูปเพื่อพุทธบูชาร ซึ่งเป็นที่นิยมมากในสมัยรัชกาลที่ 3 ส่วนระยะต่อๆมาลายดอกจะห่างกันมากขึ้น ทั้งยังมีขนาดดอกใหญ่ขึ้นและดูไม่ปราณีต (เช่นพระพุทธรูปปางมารวิชัยในช่องแสดงที่ 4 อายุ 130 ปี) ซึ่งลายดอกพิกุลจะเริ่มมีการกระจายตัวกว้างๆ ไม่แน่น และที่สำคัญตรงสังฆาฏิ (ผ้าพับพาดบนบ่าซ้าย) จะมีลายดอกไม้อีกแบบซึ่งเป็นลายดอกไม้ที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะตะวันตกสมัยล่าอาณานิคม